บทสวดพระมหาจักรพรรดิ์

บทสวดพระมหาจักรพรรดิ์
Glitter Photos

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การยกระดับสู่มิติที่สูงกว่าของมนุษย์



การยกระดับสู่มิติที่สูงกว่าของมนุษย์ ---------------------------------------------
........การยกระดับสู่มิติที่สูงกว่าของมนุษย์ เพื่อก้าวสู่ยุคพลังงานใหม่นั้น ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อก่อนผมอ่านแล้วก็งงครับ แต่ถึงจุดหนึ่งก็กลับกลายเป็นว่า มันเข้าใจเองว่าคืออะไร ก็ขอสรุปเนื้อหาตามนี้เลยก็แล้วกัน
--------------------------------------------
ยุคพลังงานเก่า
........ยุคพลังงานเก่าที่ผ่านมานั้น สรรพชีวิตทั้งหลายในโลกล้วน "ติด" อยู่ในมิติที่ "หยาบ" ซึ่งต้องอาศัยกายจิต และสภาวธรรมทั้งหลายเป็นเครื่องอยู่ อยู่มากๆ 
........นานๆ เข้าก็กลายเป็นอุปาทานยึดติด จนต้องขับเคลื่อนทุกอย่างด้วยพลังกรรม เป็นไปโดยกรรม เพื่อเสวยผลแห่งกรรม 
........อันก่อให้เกิดความอึดอัดขัดเคือง เบียดเบียนฆ่าฟัน กระทบกระทั่งกัน ไม่ว่าจะเป็นภาคหยาบอย่างมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน หรือจะเป็นภาคทิพย์ 
........ตั้งแต่กลุ่มอบายภูมิที่ต่ำกว่าเดรัจฉานลงไปจนถึงสัตว์นรก และภพภูมิเบื้องสูงกว่าอย่างเหล่าเทวดา ไล่ไปจนถึงพรหมชั้นสูงสุด 
........สรุปรวมแล้วคือทั้ง 31 ภพภูมิล้วนแล้วแต่ติดอยู่ในมิติที 3 (ภาคหยาบ) และ 4(ภาคทิพย์) ซึ่งยังถือว่าหยาบอยู่ ยังไม่พ้นไปจากกฏไตรลักษณ์ 
........เพราะหลงลืมความเป็นจริงไปว่า ธาตุทั้งหลาย ทั้งกายและใจนี้ก็เป็นเพียงวัสดุที่หยิบยืมมาทำกิจชั่วคราวเท่านั้น (เปรียบเหมือน Avatar)
---------------------------------------------

การยกระดับสู่มิติที่สูงกว่าของมนุษย์ 
ตอนที่ 2

---------------------------------------------
ยุคพลังงานใหม่
........ส่วนในยุคพลังงานใหม่นั้น มนุษย์ เทวดาและพรหมทั้งหลายก็จะมีโอกาสยกระดับขึ้นสู่มิติที่ 5 ซึ่งพ้นไปจากทั้ง 4 มิติแรก 
........แต่ไม่ได้หมายความว่า มิติที่ต่ำกว่ามิติที่ 5 จะหายไปนะครับ เพราะมิติที่ 5 นี้จะนอกเหนือธาตุขันธ์หยาบๆ เป็นมิติทื่เชื่อมทุกมิติเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวไม่แบ่งแยก
........ที่บอกว่าโลกกำลังยกระดับสู่มิติที่ 5 นั้น ไม่ได้ให้ไปทำหรือปฏิบัติอะไร เพื่อตะกายขึ้นไปยกระดับอะไรนะครับ
........แต่ให้ปลงความยึดติดในกายในใจที่ทำให้เราติดวนอยู่ในมิติที่ 3 และ 4 ลง ปลง ปล่อย ยอม หรืออะไรก็แล้วแต่
........ให้มันคลายจากอุปาทานในธาตุขันธ์ที่ยึดโยงเราอยู่กับมิตินั้นๆ เมื่อมันปลงธาตุขันธ์หมดแล้ว แม้กระทั่งกายใจก็ปล่อยให้มันเป็นธรรมของมันเองไป มันก็จะคลี่คลายหลุดพ้นจากพลังงานเก่าแล้วยกระดับขึ้นสู่มิติที่ 5 ซึ่งใช้พลังงานที่เบากว่าไปเอง
........ความเป็นไปในยุคพลังงานเก่านั้นถูกขับเคลื่อนด้วยพลังงานกรรมเป็นหลัก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงดำเนินไปด้วยกรรม หมกมุ่นในกรรม ตอกย้ำในกรรม อัตตาจึงจัดจ้าน
........เพราะเชื่อว่าทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยการกระทำ จึงทำให้โลกและสังสารวัฏดำเนินไปด้วยความอึดอัดขัดเคือง การเบียดเบียนกัน การกดขี่ข่มเหงฆ่าแกงกัน
........มิจฉาทิฏฐิจากทุกหมู่เหล่า ทำให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดการรบราฆ่าฟันกันไปทั่วโลก ซึ่งระบบที่รองรับยุคพลังงานเก่าได้อย่างเหมาะสมก็คือระบบทุนนิยม ที่เอื้ออำนวยให้กับการชดใช้และทำกรรมอย่างเต็มที่
........แต่เมื่อโลกได้เปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานใหม่ ซึ่งเป็นพลังธรรมที่มีลักษณะคลี่คลายกว่า ผ่อนคลาย กว้างขวางกว่า สายบารมีจากเบื้องบนจึงเชื่อมต่อลงมายังโลก
........เพื่อชำระล้างพลังงานเก่า(กรรม) ตามจุดต่างๆ ของโลกและสังสารวัฏโดยรวม มีทั้งที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จ ซึ่งก็มีเหตุจากหลายปัจจัย แต่เหตุหลักๆ ก็มาจากกรรมของมนุษย์เองที่ปิดบังสัจธรรมเอาไว้อย่างหนาแน่นนั่นเอง
------------------------------------
ต่อตอนที่ 3


การยกระดับสู่มิติที่สูงกว่าของมนุษย์ 
ตอนที่ 3

---------------------------------------------
การชำระล้างพลังงานเก่า
.........การชำระล้างพลังงานเก่า ที่กักขังหน่วงเหนี่ยวสรรพชีวิตทั้งหลายนั้น ไม่ใช่แค่การล้างพลังงานกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการล้างระบบที่รองรับยุคพลังงานเก่า อย่างระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะกระตุ้นตัณหาอย่างมากด้วย 
.........โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้จะเกิดภัยพิบัติในโลกมากขึ้น เพื่อบีบบังคับให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รับวิบากกรรมเร็วขึ้น ยิ่งภัยพิบัติมากก็ยิ่งทำให้ระบบเศรษฐกิจอ่อนแอ แล้วก็มีการจ่ายวิบากกรรมผ่านตัวกระทำทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลระดับโลก 
.........เหมือนที่เราจะเห็นว่าระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกำลังอ่อนแอใกล้ล่มสลายเข้าไปทุกทีในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา
.........เศรษฐกิจอันฝืดเคืองนี้ ก็จะบีบผู้คนที่อยู่ในระบบให้ใช้กรรมกันเร็วขึ้น ทำงานหนักขึ้น ปัญหามากขึ้น กดดันเคร่งเครียดมากขึ้น 
.........เพื่อให้ผู้คนได้รับวิบากกรรมตามสมควรจะได้เคลียร์กรรมเก่าให้หมด และถูกบีบให้ทุกข์หนักมากขึ้น ก็จะไปเข้าเงื่อนไขข้อแรกที่จะเข้าสู่เนื้อหาแห่งอริยสัจ 4 ได้ 
.........ไม่อย่างนั้นก็จะไม่สามารถก้าวเข้าสู่ยุคพลังงานใหม่ได้ ก็ต้องตายลงเปลี่ยนภูมิเพื่อชดใช้กรรมให้หมดก่อนแล้วค่อยมาเกิดใหม่ในแบบที่กรรมไม่หนามากจนเกินไป
.........ส่วนระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกระแสหลัก ที่ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะความโลภที่กัดกินตัวมันเอง ก็จะถูกปรับเปลี่ยนไป โดยคำนึงถึงพื้นฐานความเป็นมนุษย์มากขึ้น 
.........อย่างเช่นระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งก็เป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งของยุคพลังงานใหม่ เพียงแต่ยังติดขัดกับอุปสรรคบางอย่างอยู่
.........การเชื่อมต่อสายบารมีลงมาเพื่อชำระล้างกรรม ก็มาจากการน้อมองค์คุณเบื้องสูงเป็นประธานในการสละ ชดใช้หนี้กรรม และขอขมากรรม 
.........บางคนนึกว่าเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่รู้เรื่องอจิณไตยที่อยู่คนละมิติ ก็เลยอาศัยวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความรู้ความเข้าใจเดิมๆ อันคับแคบของตน จากการอ้างอิงเอาในตำรา 

.........จนกลายเป็นกรรมปิดบังอีก ซึ่งการต่อสารบารมีลงมาช่วยชำระกรรมนี้มีขึ้นเพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านยุค 
.........ถ้าเคลียร์พลังงานเก่ากันไม่ทันก็เป็นไปได้ ที่จะเกิดภัยพิบัติใหญ่ขึ้นมาชำระกรรมให้กับมนุษย์ สัตว์ และจิตญาณที่ยังไม่ได้ยกระดับสู่มิติที่ 5
.........การเชื่อมสายบารมีจากองค์คุณเบื้องสูงลงมาบนโลกนี้ ก็มีอยู่ทั่วไปทุกที่ครับ ไม่ใช่แค่ที่วัดร่มโพธิธรรม 
.........แล้วแต่ว่าใครจะมีบารมีสัมพันธ์กับกลุ่มไหน ก็จะถูกเชื่อมโยงไปตรงนั้นเองโดยอัตโนมัติ
.........ส่วนการหยาดน้ำก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการนำพาบารมีธรรม แห่งองค์คุณเบื้องสูงแผ่ไปสู่ปวงสัตว์ทั้งหลายโดยทั่วกัน 
.........ทุกจุดที่มีการหยาดน้ำ เหล่าจิตญาณก็จะได้เชื่อมต่อถึงบารมีขององค์คุณเบื้องสูงไปด้วย คลี่คลายไปด้วยกัน เป็นการชำระพลังงานเก่าอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติกันเป็นอริยประเพณีที่วัดร่มโพธิธรรม
.........ผู้โปรดสัตว์หรือผู้เผยแพร่สัจธรรม ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยเคลียร์พลังงานเก่าให้กับสังสารวัฏได้ โดยการให้สัจธรรม ที่ช่วยคลี่คลายโมหะอุปาทานผู้คนและจิตญาณทั้งหลาย ก็จะดึงดูดถ่ายเทพลังงานเก่าของผู้ที่คลี่คลาย จากสัจธรรมเข้ามาชำระ 
.........ช่วยให้ผู้คนทั้งหลายหลุดพ้นคลี่คลายจากอุปาทานในกายในใจตน ยกระดับขึ้นสู่มิติที่ 5 ตามวาระของแต่ละคน 
.........ส่วนผู้โปรดฯ ก็จะต้องช่วยเคลียร์พลังงานเก่าที่เชื่อมโยงเข้ามาด้วยการพาจิตญาณทั้งหลายขอขมากรรม พาประกาศสละ และหยาดน้ำช่วยอุทิศบารมีให้ด้วย
.........กิจในการเปลี่ยนยุคนี้ ยังไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลามากน้อยแค่ไหน อย่างเร็วก็คง 2-3 ชั่วอายุคน แต่ช่วงเวลานี้ก็จะมีผู้บรรลุธรรมมากขึ้น มีพระโพธิสัตว์ที่บรรลุธรรมมากขึ้น 
.........แต่ไม่เก็บตัวเหมือนยุคก่อนๆ ก้าวเข้าสู่เนื้อหาบารมีในการโปรดสัตว์อย่างกว้างขวางตามองค์มหาบารมี และช่วยเหลือในการเปลี่ยนผ่านยุคให้เป็นไปด้วยดี 
.........เราจึงได้เห็นผู้โปรดฯ บางท่านในรูปแบบที่แตกต่างไปจากในอดีตที่ส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ ซึ่งจะแทรกซึมไปตามส่วนต่างๆ ของสังสารวัฏได้ดีกว่า ชนิดที่ไม่แบ่งโลกแบ่งธรรมเหมือนในอดีต 
.........นัยว่าแบ่ง segment กันทำงานโปรดสัตว์ก็ว่าได้ ซึ่งอริยบุคคลกลุ่มนี้ก็จะเป็นต้นแบบในการออกจากความวกวนคับแคบ ในยุคพลังงานเก่าไปสู่ยุคพลังงานใหม่ให้แก่ผู้คนในวงกว้าง
.........การดำเนินไปของยุคพลังงานใหม่ ก็จะเป็นไปโดยกรรมน้อยลง แม้ว่าอาจจะไม่ได้บรรลุธรรมกันหมดทุกคน 
.........แต่ก็เป็นไปด้วยกรรมที่เบาบางกว่า ตรงเนื้อหาธรรมมากขึ้น ผ่อนคลายยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น 
.........การแบ่งแยกแตกต่างในโลกจะน้อยลง โลกธาตุก็จะสงบสุขมากขึ้นตามไปด้วย 
.........ความขัดแย้งหรือทะเลาะเบาะแว้งเพราะทิฏฐิที่เคยจัดจ้านก็ค่อยๆจางคลายไป ทำให้ผู้คนทั้งหลายทิฏฐิใส่กันน้อยลง เข้าใจโลกและสังคมมากขึ้นไปเอง
.........แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็จะไปทำเอาสร้างเอาไม่ได้ ต่อให้ปฏิบัติเอายังไงก็ติดอยู่แค่มิติหยาบๆ จะไปปรับเปลี่ยนเปลือกนอกยังไงมันก็ได้แต่เปลือก แต่เนื้อหาก็ยังไม่ใช่ 
.........ต้องปลงทิ้งตัวตนที่ซ้อนธาตุขันธ์ลง ก็จะแจ้งในสัจธรรมไปเอง กว้างขวางผ่อนคลายไปเอง เปลี่ยนผ่านเป็นมนุษย์ในยุคพลังงานใหม่ไปเอง จากภายใน แล้วเปลือกภายนอกก็จะปรับเปลี่ยนตามไปด้วยอย่างสัมพันธ์กัน
-----------------------------------------------


สิ่งที่จะเกิดขึ้น
หลังการเปลี่ยนแปลงเข้าสุู่โลกยุคพลังงานใหม่

-------------------------------------------------------------
........1 จำนวนมนุษย์โลกจะลดน้อยลง 1 ใน 3 (ขึ้นอยู่กับมนุษย์ในช่วงนั้น)
........2 ผู้มีระหัสกรรมเกิน 30% จะถูกชำระ (อันนี้สำคัญ ควรรีบกำจัดผลกรรมที่มีอยู่ให้เป็นกลางโดยเร็ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านก็ช่วยแบกรับกรรมให้เราถึง 70% สำหรับผู้รับธรรมะในสายอนุตรธรรม)
........3 ผู้รอดชีวิต
"รหัสกรรมทั้งหมดจะถูกยกเลิก"
........4 ภาษาไทยและภาษาจิตจะเป็นภาษาสากล (โทรจิต)
........5 มนุษย์จะมีอายุยืนยาวขึ้น และมีท้องฟ้าใหม่ที่สวยงาม
........6 โลกจะหมุนเร็วขึ้นเป็น 22 ชั่วโมงต่อรอบต่อวัน
........7 สัตว์บางชนิดจะสูญพันธ์ ( หนู กระต่าย )
........8 มนุษย์บางเผ่าพันธ์จะสูญชาติ สิ้นแผ่นดิน
........9 มนุษย์จะมีสังคมที่ไร้พรมแดน (รวมถึงการปรากฎตัวของสิ่งมีชีวิตนอกโลก มนุษย์ต่างดาว)
........10 ฆราวาสจะมีบทบาทในการดูแลบำเพ็ญจิตตนเอง โดยไม่ละทิ้งครอบครัว (อาศัยการใช้พลังงานร่วม หรือการสั่นสะเทือนจิตร่วมกัน ที่เรียกว่า"ธรรมชาติสมาธิ" เพราะความลับมิติโลกถูกเปิดเผยมนุษย์จะรู้หน้าที่ของตนเองมากขึ้น
........11
แผ่นดินและอาณาจักร์ที่หายไปจะไปปรากฎตัวอีกครั้งไว้เป็นอุทาหรณ์มนุษย์รุ่นหลัง
........12 มนุษย์รุ่นใหม่จะฉลาดเฉลียว รูปร่างสวยงามยิ่งขึ้น
-------------------------------------------------------------
........
"ตาที่สาม" จะเปิดออกโดยอัตโนมัติสามารถมองเห็นมิติของวิญญาณ ได้เป็นเรื่องปกติ เนื่องจากสนามแม่เหล็กโลกจะเพิ่มระดับพลังงานและยกตัวสูงขึ้นเกิน 60,000 ก ม (สนามแม่เหล็กโลกกำกับค่าของ" ตาที่สาม"เอาไว้)
........เป็นข้อมูลที่ต่างมิติได้ให้ไว้ในปี 2012 แต่เป็นเส้นเวลาที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับจิตมวลรวมมนุษย์ว่าจะให้เป็นไปในทิศทางใด
........การทำสมาธิหมู่กว่า 30 ล้านคนในปี 2012 เพื่อชำระแกนโลกให้สะอาด ได้ช่วยรักษาโลกใบนี้ไว้ได้
........
หักคำทำนายของหมอดูก้องโลกทุกท่านรวมทั้งนอสตาดามุสด้วย

พระพุทธองค์ทรงบอกว่า


พระพุทธองค์ทรงบอกว่า 
---------------------------------------------
........ธรรมะทั้งหลายที่ท่านทรงดำรัสตรัสสอน 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น ทั้งหมดนี้ สามารถสรุปลงเป็นคำสอนบทเดียวได้ว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" 
---------------------------------------------
........สัพเพ แปลว่า สรรพสิ่งทั้งหลายทั้งหมดทั้งมวลทั่วสากลโลกธาตุ มีอยู่แค่ 2 ลักษณะ คือ รูปกับนาม รูปคือลักษณะ นามคือสภาวะ
---------------------------------------------
........รูปก็คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เป็นธาตุประธาน ซึ่งมีชื่อเรียกกันไปต่างๆนานา เป็นอิฐ หิน ดินทราย แม้น้ำ ลำธาร พายุ ความร้อน เปลวไฟ เป็นต้น
---------------------------------------------
........นามก็คือ อาการและความรู้สึก อาการก็ได้แก่ เจ็บ ปวด เมื่อย หนาว เย็น ร้อน เป็นต้น ความรู้สึกก็จะมีความพอใจและไม่พอใจ เป็นประธาน แตกแยกออกไปได้เป็น ดีใจ สบายใจ ปลื้มใจ เสียใจ เศร้าใจ หม่นหมองใจ เหล่านี้เป็นต้น
---------------------------------------------
ครูชาญวิทย์

การปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลเร็ว



การปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว ....
-----------------------------------------------------------------
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
-----------------------------------------------------------------
....เรามาสรุปเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตรที่ศึกษามาแล้ว ว่าการปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว เร็วหรือไม่เร็วก็ชื่อว่าเข้าถึงมรรคผล เมื่อก่อนนี้เราก็ว่ากันมาตั้งแต่อานาปานุสสติกรรมฐาน นั่นเป็นการศึกษาแต่ว่าจะปฏิบัติกันจริงๆ ละก้อท่านจะต้องขึ้นโพชฌงค์ ๗ ก่อนฉันไม่เหมือนชาวบ้านเขาแล้วถ้าเราจะเอามรรคผลกันจริงๆก็ต้องใช้โพชฌงค์ ๗ ก่อนอันดับแรกเพราะกำลังใจของเราต้องเข้าถึงโพชฌงค์เราต้องมีโพชฌงค์ ๗ มาเป็นกำลังใจอันดับแรกก่อนคือ
-----------------------------------------------------------------
  • ๑. ต้องเป็นคนมีสติ
-----------------------------------------------------------------
  • ๒. ธัมมวิจยะ ธัมมวิจยะนี่ใคร่ครวญธรรมะที่เราพึงปฏิบัติ และข้อวัตรปฏิบัติ
-----------------------------------------------------------------
  • ๓. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค
-----------------------------------------------------------------
  • ๔. มีปีติ สร้างปีติ ความเอิบอิ่มใจให้ปรากฏกับใจ นี่หมายความว่า การปฏิบัติแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บอกว่าถึงพระนิพพานแน่ อย่างเลวที่สุดเราก็ไปพักแค่สวรรค์ดีขึ้นไปหน่อยไปพักแค่พรหม ดีที่สุดเราถึงพระนิพพาน เรารู้ความจริงแบบนี้ปีติคือความอิ่มใจมันก็เกิดก็คิดว่าเรานี่ยังไงๆก็ไม่ตกนรกแน่ความภาคภูมิใจที่เกิดอย่างนี้เราเรียกว่าปีติ
-----------------------------------------------------------------
  • ๕. ทีนี้ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ สงบของปัสสัทธิ มีอยู่ ๒ จุดคือสงบจากนิวรณ์และสงบจากกิเลส ให้มีอารมณ์นิ่ง มีอารมณ์สงบไม่ยอมให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจหรือไม่ยอมให้กิเลสเข้ามารบกวนใจแล้วก็
-----------------------------------------------------------------
  • ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่น
-----------------------------------------------------------------
  • ๗. อุเบกขา วางเฉย หมายความว่า ทรงอารมณ์เดียวเข้าไว้ ไม่ยอมรับทราบอารมณ์อื่นที่เข้ามารบกวนใจ
-----------------------------------------------------------------
....นี่สิ่งทั้ง ๗ ประการนี้เรียกว่า โพชฌงค์ คือว่าองค์เป็นเครื่องตรัสรู้จะต้องมีประจำใจอยู่ก่อนสอนแปลกเสียแล้วก็ต้องสรุปซีนะไม่ขึ้นตอนต้นเพราะว่าการขึ้นตอนต้นท่านถือตามหลักตามเกณฑ์ว่าควรปฏิบัตินี่เมื่อเรามีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจโพชฌงค์ ๗ นี่เป็นอารมณ์ประจำใจคือเราคิดไว้เสมอว่า
-----------------------------------------------------------------
  • ๑. เราจะมีสติรู้อยู่ ในที่นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
-----------------------------------------------------------------
  • ๒. เราต้องใช้ปัญญา ธรรมะที่พึงจะปฏิบัติ ว่าที่เขาสอนเรานี่ หรือว่าตำราที่กล่าวมานี่ มันตรงตามความเป็นจริงหรือยัง
-----------------------------------------------------------------
  • ๓. มีความเพียรคือวิริยะถ้าขาดความเพียรเสียอย่างเดียวขี้เกียจมันก็ไม่ได้อะไร
-----------------------------------------------------------------
  • ๔. ปีติ ความอิ่มใจ เต็มใจในการที่จะปฏิบัติ หวังในผลที่จะพึงได้
-----------------------------------------------------------------
  • ๕. ปัสสัทธิ รักษาอารมณ์ให้สงบอยู่เสมอ
-----------------------------------------------------------------
  • ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา
-----------------------------------------------------------------
  • ๗. อุเบกขา กันอารมณ์อื่นไม่ให้เข้ามายุ่ง อุเบกขานี่แปลว่า ความวางเฉย อารมณ์อื่นนอกจากที่เราจะต้องการมันเข้ามายุ่ง เราขับมันไปเลย
-----------------------------------------------------------------
  • สาธุ สาธุ สาธุ..น้อมนำจิตสู่แสงธรรมในธรรมะ
  • ขอให้ทุกท่านมีความสุข อย่าใด้มีความทุกข์ทั้งปวง!!!
  • ขอทุกท่านจงเจริญในกุศลธรรมทุกประการ และมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  • ขอขอบคุณเจ้าของภาพ และ ข้อความ ธรรมะเพื่อเป็นธรรมะทาน
  • "ธรรมทาน คือ ทานเพื่อส่งเสริม การบรรลุธรรม"
  • สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ "การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

หลักสัจธรรม


หลักสัจธรรม
--------------------------------- 
........คำว่า "หลักธรรมชาติ ที่แท้จริงนั้น"คือ ฟ้า ดิน ต้นไม้ ภูเขา สายน้ำ ลำธาร สรรพสัตว์ น้อยใหญ่ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ธาตุสี่ขันธ์ห้า จิตของเรา 
........อีกทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญ ญาณ ฌาณ อิทธิฤทธิ์ รวมถึง โง่ ฉลาด ดี ชั่ว บุญ บาป สุข ทุกข์ รวย จน ดีใจ เสียใจ แข็งแรง อ่อนแอ การไป การมา การเข้า การออก 
........ตั้งอยู่ แตกทำลาย ลมพัด ฝนตก แดดออก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ หมู่ดาวน้อยใหญ่ และ จักรวาล มหาจักรวาล อนันตจักรวาล และ พุทธเกษตรทุกๆ พุทธเกษตร
........อันมีมากมายดุจเมล็ดทรายในคงคานที อีกทั้งรวมถึงภพภูมิทั้ง 31ภพภูมิ รวมทั้งธรรมและอธรรม หรือแม้กระทั่งที่เรียกกันว่า มาร หรือ พระ .....
----------------------------------
........สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเป็นอื่นได้เลย นอกจากความเป็นธรรมชาติธาตุเดิม ของมัน อยู่เองแล้ว แห่ง ตถตา.. "
........แต่เมื่อไหร่ เราใช้ความเป็นอัตตาตัวตนเข้าไปยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในธรรมชาตินั้น
........ทุกสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดก็จะมาปรากฏ แก่เราทันที เพื่อรอการไปเสวยผลแห่งกรรม ที่ไปยึดติดในธรรมชาตินั้นๆ
........และเมื่อเราตื่นรู้เมื่อไหร่ จากวิบากกรรม ก็จะกลายเป็นธาตุตามธรรมชาติ ของมันเองไปทันที และเป็นการยุติ เหตุแห่งการเกิดการตายอย่างฉับพลัน.!
---------------------------------
........นี่คือปฐมเหตุ ที่องค์พุทธะทุกๆ พระองค์ทรงกล่าวโดยจำกัดความไว้ว่า
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา คือไม่สามารถใช้ความเป็นตัวตน เข้าไปยึดได้เลย
........และยังทรงกล่าวอีกว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น โดยประการทั้งปวง
........เพราะความหมายของคำว่า
สัจจธรรม ก็คือ ความไม่ยึดติดนั่นเอง......
---------------------------------
ดังนั้น...
---------------------------------
........คำว่าจิต ที่จริงก็ไม่ใช่จิต ถึงกระนั้นก็ยังไม่ใช่จิต ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า.. จิตนี้มันก็ไม่เคยตั้งชื่อให้ตัวมันเองว่ามันชื่อ "จิต"
........แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น องค์พุทธะทุกๆ พระองค์ จึงทรงได้ สมมุติบัญญัติขึ้นมาก็เพื่อใช้มันสะท้อนสัจจธรรม
........ก็เพื่อให้เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้ตื่นรู้ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง หรือที่เรียกกันว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็นสิ่งที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
........ก็เพื่อไม่ให้เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง คือน้อมมาใช้เสร็จแล้วก็ให้แล้วกันไป ไม่ต้องนำมาแบกคาไว้ จนกลายเป็นอนุสัยที่นอนเนือง แล้วก็กลายมาเป็น
"ตัวเรา"เป็น"ของของเรา"ขึ้นมา...
........นี่คือจุดประสงค์หลัก ที่พระพุทธะองค์ต้องการให้เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้ตื่นรู้ในธรรมอนัตตานี้
........
และให้เราถอน "อัตตา" ออกจาก "จิต" ที่เป็นเพียงชื่อเรียกที่สมมุติกันขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น
........และโดยเนื้อหาที่แท้จริงของจิตนั้น เป็นการแสดงตัวออกมาจาก คำว่า
ตถตา..ตถคตา..ตถาคต..นั่นเอง.....
---------------------------------
........ดังนั้น จึงไม่สามารถสรุปเจาะจงลงไปในธรรมอนัตตาได้เลย มีเพียงแต่ปล่อยให้ทุกอย่าง มันคลายตัวมันเอง ตลอดเวลา 
........จึงจะได้ชื่อว่า "นอกเหนือยิ่งกว่านอกเหนือในธรรมทั้งหลายทั้งปวง"
........สาธุ..
--------------------------------
สัพเพ ธัมมา อนัตตา

การปฎิบัติธรรม



การปฎิบัติธรรม--------------------------------------------------
........การเริ่มต้นปฏิบัติ ด้วยการแสวงหานั้น เป็นการถือเอาทางผิดโดยสิ้นเชิง
........เพราะสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในจิตเดิมแท้ของเราเองแล้ว เรื่องของมันก็คือปล่อยให้เห็นแจ้งออกมา ไม่ใช่เที่ยววิ่งแสวงหา.........
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........นิพพานไม่มีการปรากฏแห่ง การเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับนั้น.....
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เป็นการดับสนิทไม่มีเหลือ.และปราศจากอวิชชาตัณหาอุปาทาน......
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ส่วนการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปนั้น เป็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปแห่งอวิชชาทั้งปวง.......
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
.......และเมื่อจิตเราเป็นอิสระอย่างเด็ดขาดิ ต่อเครื่องขัดข้องคืออวิชชาทั้งหลาย การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ก็ย่อมไม่มีโดยสภาพแห่งธรรม นั้นแล้ว 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
.......และไม่มีแม้กระทั่ง ความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ของความเกิดขึ้นและความแตกดับ....
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
.......เพราะเนื้อหาแห่งพระนิพพาน คือธรรมชาติล้วนๆ และเป็นสภาพมันเองอยู่อย่างนั้น 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
.......เป็นความอิสระอย่างเด็ดขาด "โดยที่ไม่ต้อง อาศัยอะไร กับอะไร...เพื่ออะไร..........
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........นิพพานเป็นการแสดงออกของสภาพธรรมอันเป็นธรรมชาติล้วนๆ การแสดงออกนั้นเป็นการแสดงออกโดยตัวมันเอง และโดยสภาพมันเอง....
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........จึงไม่ควรให้มีความเห็นใดๆ เข้าไปบัญญัติอีกว่า "นี่คือการแสดงออก.......
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เมื่อ อวิชชา ความหลงเห็นเป็นตัวตนเป็นทุกสิ่งอย่างหายไป การปรุ่งแต่งทั้งปวงก็ยุติ สมมุติทั้งปวงก็ยุติ 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เมื่อสิ่งทั้งปวงดับไปตามเหตุ ไม่มีมายาใดๆปรากฏ 
........นี่ คือ( นิพพาน)
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........จิตที่ปรุงแต่งทุกเรื่อง ไม่ว่าจะหยาบ ละเอียด เลว งาม.ก็ล้วนไม่เที่ยงแท้โดยตัวมันเอง โดยสภาพมันเอง..(สักแต่ว่า)........
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ส่วนใหญ่นักปฏิบัติธรรม จะติดปรุงแต่งในธรรมเนืองๆ โดยที่หารู้ไม่ว่า การพิจารณาธรรม แบบซ้ำๆซากๆ 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ก็เป็นจิตที่ปรุงแต่งชนิดหนึ่ง เหมือนเส้นผมที่บังภูเขา ที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะ "จิตที่ปรุงแต่งในธรรมก็ไม่เที่ยง".........
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........จริงๆแล้ว การปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นนั้น คือ เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงต่อ สัจจธรรม แห่งการไม่ยึดติดนั่นเอง
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ทุกสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็คือ ธรรมอาศัยชั่วคราวเท่านั้น 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........โดยอยู่บนเนื้อหาแห่งการไม่ยึดติดในธรรม ทั้งหลาย ทั้งปวงเหมือนเช่นเดิม........
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า หากความไม่รู้ .พาเข้าไปยึดมั่นในเวทนาทั้งหลาย 
จนก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน แล้วกลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งแล้ว กลายเป็นความคิด อันมีเขา มีเรา แล้ว.จะทำอย่างไร?
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เมื่อเกิดอัตตาขึ้นแล้ว เป็นจิตที่ปรุงแต่งแล้ว "ก็อย่าเข้าไปเนื่อง อย่าเข้าไปเนิ่นช้า ในความคิดนั้น ในอาการที่จิตปรุงแต่งนั้น...
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง เมื่อไม่เข้าไปเนิ่นช้า " ความคิดนั้นก็ไม่เที่ยง จิตที่ปรุงแต่งนั้นก็ไม่เที่ยง 
........"ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง ตามหลักธรรมชาติที่ว่า ...ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง.......
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้า มันก็ไม่เที่ยง โดยสภาพมันเองอยู่แล้ว นี่คือ ธรรมชาติ
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ ก็อย่าเข้าไปยุ่ง ไปสาละวน 
อย่าเข้าไปเนื่อง อย่าเข้าไปเนิ่นช้า ให้เกิดปัญหาซับซ้อนขึ้นมาอีก 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........และเมื่อหยุดเข้าไปยุ่ง ก็เกิดการ คลายกำหนัด อัตตาที่นอนเนืองใน สันดานก็ลดลงทันที
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........การเข้าไปกำหนดจดจ่อในธรรมนั้นๆิ.มันเป็นการที่เอาจิตเข้าไปดำริ เข้าไปริเริ่ม เพื่อที่จะให้มันชัดเจนตามความรู้สึกของตัวเอง ที่มีความเป็นอัตตาตัวตน แทรกซ้อนอยู่ 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ซึ่งมันเป็นการเจริญตัณหาอุปาทานขึ้นมาอีกเนืองๆ.
-----------------------------------------------
สัพเพ ธัมมา อนัตตา

วิถีแห่ง ธรรมชาติของพุทธะที่แท้จริง



วิถีแห่ง ธรรมชาติของพุทธะที่แท้จริง
หน้าที่สักแต่ว่าหน้าที่ 
------------------------------------------------
........คือไม่มีตัวตนเป็นผู้ยึดในหน้าที่ 
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เพราะคำว่าหน้าที่ เป็นธรรมอาศัยชั่วคราว ก็คือการดำเนินชีวิต
อยู่บนพื้นฐานของความเสียสละ
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ก็คือการสละออกซึ่งอัตตาตัวตน ที่คอยเข้าไปยึดในกาย ในจิต ในอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง ่ว่าเป็นตัวเรา ว่าเป็นของของเรา
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........และเมื่อผู้ใดได้รู้แจ้งซึ่งสัจจธรรมห่งความไม่ยึดติดได้เด็ดขาดจริงๆ แล้ว การดำเนินชีวิตของทุกคน ก็จะดำเนินอยู่บนธรรมนองคลองธรรม แบบพอดี
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........โดยมิได้ปฏิเสธหรือยอมรับในสรรพสิ่งทั้งปวง โดยวางตนอยู่ท่ามกลางในทุกๆ กระแส
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........คำว่ากระแสก็คือ การหมุนเวียนของ สภาวะธรรมทั้งปวง
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ดังนั้น ตนนั่นแหละเป็นผู้วางในตน และก็ตนนั่นแหละเป็นผู้ตักเตือนในตน
........ก็คือการไม่ยึดติดในธรรมทั้งปวง และเมื่อเราเป็นผู้ปล่อยวางได้ทุกขณะ
โดยคำว่าทุกขณะนั่นแหละ คือการปฏิบัติธรรม
.......โดยสรุปก็คือ พระธรรมเปรียบเสมือนแพ และเรานี่แหละคือผู้ที่อาศัยแพลำนั้น ในการข้ามแม่น้ำใหญ่ คือสังสารวัฏ
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........เมื่อถึงฝั่งแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องแบกแพลำนั้นไปด้วยเลย
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ทันทีที่เราหยุดวิถีแห่งกรรม คือ ถอนความสำคัญในอัตตาตัวตน ที่คอยเข้าไปแทรกซ้อนปรุงแต่งในจิตได้เด็ดขาดจริงๆ
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........และทะนุถนอมความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของเราให้ดี อุปาทานความยึดติดที่เหลืออยู่ก็จบสิ้นลง
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........และความเข้าใจ จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติแบบอัตโนมัติ โดยมิต้องพยายามอันใด.........
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ทันทีที่ปุถุชนเห็นธรรมชาติของเขา อุปาทานความยึดติดทั้งหลายก็จบสิ้นลง ความตื่นรู้มิได้ถูกซ่อนเร้นอีกต่อไป แต่เธอสามารถจะพบมันได้ในขณะนี้เท่านั้น
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ถ้าหากเราต้องการจะพบทางทางนั้น จงอย่าได้ยึดติดกับสิ่งใดเลย
แม้ กระทั่งคำว่าทางทางนั้น..
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........ถ้าหากเธอใช้จิตของเธอศึกษาสัจจะความจริง
........เธอจะไม่สามารถเข้าใจทั้งจิตของเธอและสัจจะความจริง
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........หากเธอศึกษาสัจจะความจริงโดยไม่ใช้จิต
........เธอจะเข้าใจทั้งสอง
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........บุคคลผู้ไม่เข้าใจ ย่อมไม่เข้าใจ ความเข้าใจ
........ส่วนบุคคลผู้เข้าใจ ย่อมเข้าใจ ความไม่เข้าใจ
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมรู้ว่าจิตนั้นว่างเปล่า
........เขาอยู่นอกเหนือทั้งความเข้าใจ และความไม่เข้าใจ
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........และการนอกเหนือ ทั้งความเข้าใจ และความไม่เข้าใจ
........คือความเข้าใจที่แท้จริง.
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........การเข้าใจในสมมุติและวิมุติอย่างแท้จริงแล้วนั้น คือผู้ที่ดำรงค์อยู่ท่ามกลางวิหารธรรมตลอดเวลา
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........จนในที่สุด ในความหมายของฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น .และคำว่าท่ามกลาง ก็ไม่มีความหมาย.สำหรับเขาผู้นั้นอีกต่อไป
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
........นั่นก็คือ วิถีแห่ง ธรรมชาติของพุทธะที่แท้จริง ที่มีอยู่พร้อมบริบูรณ์ ในจิตเดิมแท้ของทุกคน.มาเป็นอนันตกาล..............สาธุ
︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾︾
สัพเพ ธัมมา อนัตตา

วิธีเจริญจิตภาวนา (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)


วิธีเจริญจิตภาวนา 
(ตามวิธีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
-----------------------------------------------------
........1. เริ่มต้นอิริยาบถที่สบาย
........ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร หรือ รู้ “ตัว” อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อย ๆ
........ให้ “รู้อยู่เฉย ๆ ” ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม
........เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นตามธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่
........ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้น ๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่
........และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อย ๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ........ครั้นพลั้งเผลอ รักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป
........ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน “พฤติแห่งจิต” โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร
........ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อ ๆ ไป
........ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า “พุทโธ” หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อย ๆ
........แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง
........ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่
........แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง
........เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดีก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้
........ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อย ๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อย ๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง
........ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้ คือ ตัว “ศีล”
........การบริกรรม “พุทโธ” เปล่า ๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อ ๆ ไป
........แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
........ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่องถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของ พุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้
........หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบ ที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย
........เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลาและบั่นทอนความศรัทธา ตนเองเลย
........เมื่อจิตค่อย ๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง
........ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าวก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเองเพราะคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อย ๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ “พฤติแห่งจิต” ที่ฐานนั้น ๆ
........“บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครบริกรรมพุทโธ”
-----------------------------------------------------
........2. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว
........ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่ออารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไปมาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอ ๆ
........สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบ ๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กริยาจิตใด ๆ ที่เกิดขึ้นเพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ เข้าใจกริยาหรือพฤติแห่จิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)
........“ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ ”
-----------------------------------------------------
........3. อย่าส่งจิตออกนอก
........กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลาย อย่าได้ใส่ใจกับมัน)
“ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ 6”
-----------------------------------------------------
........4. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป
........เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าถึงปัจจัยของอารมณ์ ความนึกคิดต่าง ๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่าง ๆ อารมณ์ความนึกคิดต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดับไป เรื่อย ๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ
........“คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด”
-----------------------------------------------------
........5. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต
........เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่ายังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามใช้สติสังเกตดูที่จิต ทำความสงบอยู่ในจิตไปเรื่อย ๆ จนสามารถเข้าใจพฤติของจิตได้อย่างละเอียดลออตามขั้นตอนเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดนั่นเอง และความคิดมันออกไปจากจิตนั่นเอง ไปหาปรุง หาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อย ๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้
........“คำว่า แยกถอดรูป นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง ”
-----------------------------------------------------
........6. เหตุต้องละ ผลต้องละ
........เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่าง ๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใด ๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น
........“สมุจเฉทธรรมทั้งปวง”
-----------------------------------------------------
........7. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด
........เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า
........การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป
........หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก
........เพราะกรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า “พ้นเหตุเกิด”
-----------------------------------------------------
........8. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร
........เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่าธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่าไม่มีธรรมนั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง)

พุทธะ นั้นคืออะไร ?



พุทธะ (ซึ่งหมายถึงสิ่งสูงสุด) นั้นคืออะไร ?
-------------------------------------------------
.........จิต คือ พุทธะ ในเมื่อการสิ้นสุดลงแห่งความคิดปรุงแต่ง เป็น ทาง พอสักว่าเธอหยุดการปลุกเร้าความคิดปรุงแต่ง 
..........และการคิดค้นในเรื่องอันว่าด้วยความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ความยาวและความสั้น คนอื่นหรือตัวเอง ผู้ทำหรือผู้ถูกทำ และเรื่องอื่นทำนองนี้เสียให้จบสิ้นเท่านั้น 
.........เธอจะพบว่า จิต ของเธอเป็น พุทธะ โดยแท้จริง ว่า พุทธะ คือ จิต โดยแท้จริง และว่าจิตเป็นสิ่งที่คล้ายกับความว่าง
.........เพราะฉะนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า “ธรรมกาย อันแท้จริงนั้น คล้ายกับความว่าง”
-------------------------------------------------
.........จงอย่าแสวงหาสิ่งอื่นใด นอกไปจากสิ่งนี้ มิฉะนั้นแล้วการแสวงหาของพวกเธอจะจบลงด้วยความเศร้า
.........แม้พวกเธอจะบำเพ็ญบารมีทั้งหก ตลอดกัปเป็นอันมากเท่าจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา รวมทั้งวัตรปฏิบัติอย่างอื่นที่จะทำให้ได้ตรัสรู้ อีกทั้งหมดทั้งสิ้นก็ตาม เธอก็ยังอยู่ไกลจากจุดหมายปลายทางอยู่นั่นเอง
-------------------------------------------------
.........ทำไมเล่า ?
.........เพราะว่าการทำเช่นนั้น เป็นการสร้างกรรมไม่มีหยุด และเมื่อกุศลกรรมที่ได้สร้างขึ้นนั้น หมดอำนาจลง
.........พวกเธอก็จะกลับไปกำเนิดในภูมิอันต่ำอีก ด้วยเหตุนี้เองจึงมีคำจารึกไว้อีกว่า “สัมโภคกาย นั้น ไม่ใช่พุทธะที่แท้จริง หรือผู้ประกาศธรรมะก็ไม่ใช่”
--------------------------------------------------
.........เพียงแต่เธอรู้จักธรรมชาติแท้แห่งจิตของเธอเองเท่านั้น ซึ่งในธรรมชาตินั้น ไม่มีตนเองไม่มีผู้อื่น แล้วเธอก็จะเป็นพุทธะองค์หนึ่งจริง ๆ
--------------------------------------------------
สัพเพ ธัมมา อนัตตา

ธรรมชาติแแห่งจิตเดิมแท้



ธรรมชาติแแห่งจิตเดิมแท้
-------------------------------------
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแทนัน้ จึงไม่ยึดติดในทุกสรรพสิ่งอยู่แล้ว...
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแท้นั้น มีอิสระอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว...
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแท้นั้น ไม่สามารจะสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง 6
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแท้นั้น มิได้อยู่ภายใต้สมมุติใดๆที่อาจพึงกล่าวได้
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแท้นั้น เป็นธรรมชาติแห่งพุทธะโดยเสร็จสรรพอยู่แล้ว...
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแท้นั้น มิได้อยู่ฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น หรือแม้กระทั่งท่ามกลาง....
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแท้นั้น เป็นนิพพานอยู่แล้วโดยตัวมันเอง....
........โดยธรรมชาติแห่งจิตเดิมแท้นั้น
................ไม่มีอาการมาหรืออาการไป
................ไม่มีการเข้าหรือการออก
................ไม่ใช่เป็นของบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์
................ไม่ใช่เป็นสิ่งสงบหรือไม่สงบ
................ไม่ใช่เป็นของว่างหรือไม่ว่าง
................ไม่ใช่เป็นของมีอยู่หรือไม่มีอยู่ และ
................ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครๆ จะใช้ความพยายามเพื่อเข้าถึง...
-----------------------------------------
........และโดยธรรมชาติแแห่งจิตเดิมแท้นั้น
........เป็นการแสดงตัวออกมาจากคำว่า "ตถตา"
-----------------------------------------

บทเพลงแห่งธรรม



บทเพลงแห่งธรรม
------------------------------------------
  • บนเส้นทาง คดเคี้ยว ไร้จุดหมาย
  • ยังขวนขวาย ดิ้นรน บนทางฝัน
  • หวังเกาะกุม ยึดมั่น ทุกคืนวัน
  • แล้วก็พลัน ดับสลาย ไปต่อตา
------------------------------------------
  • ยิ่งสูญเสีย ยิ่งเคี่ยวเข็ญ ให้ได้มา
  • แสวงหา อย่างมัวเมา เพราะลุ่มหลง
  • มิเคยพอ เพราะตัณหา คอยดำรง
  • ยึดมั่นคง เพราะอัตตา เป็นตัวนำ
------------------------------------------
  • หยุดซักนิด แล้วสำนึก ให้ดีเถิด
  • การที่เกิด มานั้น เพราะตัณหา
  • คอยเคี่ยวเข็ญ จิตเดิม ให้ข้องคา
  • แล้วนำพา เวียนว่าย ชดใช้กรรม
------------------------------------------
  • จงปลดปล่อย จิตเดิมแท้ ไว้เช่นนั้น
  • อย่าบีบคั้น ให้ขัดขวาง สิ่งทั้งหลาย
  • อันความคิด เกิดขึ้นมา มันก็คลาย
  • อย่ายึดหมาย เอามา เป็นของเรา
------------------------------------------
  • แม้อารมณ์ ปลอดโปร่ง มีความสุข
  • นั่นแหละทุกข์ ที่รอคอย เข้าประสาน
  • เพราะเป็นธรรม ที่หนุนเนื่อง ไร้ประมาณ
  • จะกล่าวขาน อย่างไร ไม่พ้นธรรม
------------------------------------------
  • เมื่อปลดปล่อย ให้เป็น ของมันเอง
  • ดั่งบทเพลง แห่งธรรม ที่ลื่นไหล
  • ไม่ติดขัด ข้องคา ในสิ่งใด
  • ดุจน้ำใส ที่รองรับ ความขุ่นมัว
------------------------------------------
  • สงบนิ่ง ท่ามกลาง ความเคลื่อนไหว
  • คือหทัย แห่งธรรม ทุกวิถี
  • อิสระ นอกเหนือ มารไพรี
  • ทุกชีวี พร้อมอยู่แล้ว บริบูรณ์
------------------------------------------

เพราะเหลือกู




เพราะเหลือกู
-----------------------------------------
  • จิตพุทธะ พุทธะจิต บริสุทธิ
  • อันวิสุทธิ์ อยู่แล้ว ในใจเจ้า
  • ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องติด ไม่ต้องเอา
  • ไม่ต้องเฝ้า ไม่ต้องคอย หาอะไร
------------------------------------------
  • ไม่ต้องยึด ไม่ต้องเกาะ ในทุกสิ่ง
  • ไม่ต้องวิ่ง ไม่ต้องหา เพราะความหลง
  • เพียงยุติ ตัวคอยซ้อน ที่ดำรง
  • ให้ปลดปลง ทุกสิ่งอย่าง ออกจากใจ
------------------------------------------
  • ให้วางเรา แต่มิใช่ ไปวางมัน
  • ต้องรู้ทัน ตัวกู ที่พาหลง
  • เผลอวางมัน แต่เสร็จกู ยังมั่นคง
  • ก็ต้องลง เวียนเกิดตาย เพราะเหลือกู
--------------------------------------------

พระธรรมฉายแสงจากฟากฟ้าศุราลัย


พระธรรมฉายแสง จากฟากฟ้าศุราลัย สู่แดนดิน
--------------------------------------------------------
  • ดวงอาทิตย์ อัสดง ลับขอบฟ้า
  • ถึงเวลา พระจันทร์ ฉายส่องแสง
  • ช่วยขับไล่ ความมืด ม่านกำแพง
  • เป็นดั่งแสง นำทาง ผู้มืดมน
--------------------------------------------------------
  • เปรียบดังเช่น พระธรรม ทั่วโลกหล้า
  • คอยนำพา ผู้คน มิให้หลง
  • ออกจากทุกข์ ซ้ำซาก ด้วยการปลง
  • จึงจะตรง ต่อพระธรรม พ้นทุกข์ภัย
--------------------------------------------------------
  • เป็นคำสอน ฟังง่าย ในสมมุติ
  • เพียงแค่หยุด อัตตา ที่แทรกซ้อน 
  • ปล่อยให้เกิด และดับเอง ทุกขั้นตอน
  • ไม่อาวรณ์ ต่อตัวตน เป็นสำคัญ
--------------------------------------------------------
  • เมื่อไม่ยึด ในตัวตน ก็สิ้นเกิด
  • หมดกำเนิด ในอัตตา ก็สิ้นหวัง 
  • อิสระ ท่ามกลาง คือพลัง
  • ภพหยุดยั้ง ชาติสิ้น คืนสู่ธรรม
--------------------------------------------------------

ก้าวย่างอย่างอิสระ



ก้าวย่างอย่างอิสระ
-------------------------------------------
แก้วมณี รัตนะ ส่องแสงกล้า
แก้วมุกดา อาบฉาย รังสีใส
แก้วไพฑูร ส่องประกาย เป็นยองใย
แก้วแห่งใจ บริสุทธิ์ เป็นเดิมที
-------------------------------------------
มณีโชติ แก้วกล้า เหนือเวหา
ปลุกศรัทธา มหาชน จากหลับไหล
สู่แก้วธรรม ที่มี ในดวงใจ
ให้ห่างไกล จากวิถี พยามาร
-------------------------------------------
แก้ววิเชียร คอยล้าง กรรมวิบาก
ให้ออกจาก อัตตา ที่ยึดหมาย
คือปล่อยวาง ทุกสิ่ง แม้ใจกาย
คือความหมาย แก้ววิเชียร ไร้ตัวตน
-------------------------------------------
อันดวงแก้ว แห่งธรรม ตามสัจจะ
ที่องค์พระ อานุภาพ กล่าวคำสอน
"รวมทุกแก้ว" เป็นหนึ่ง สู่บทกลอน
เป็นคำสอน ให้ละวาง จากตัวตน
-------------------------------------------
อันดวงแก้ว คือบารมี ที่สั่งสม
ธรรมอุดม น้อมนำ สู่เนื้อหา
ให้ส่ำสัตว์ หมดทุกข์ สุขชีวา
องค์พุทธา นุภาพ ประกาศธรรม
-------------------------------------------

ตรรกะแนวคิดในการอ่าน


ตรรกะแนวคิดในการอ่าน
----------------------------------------
......พุทธศาสนา สอนให้คนเกิดปัญญา และใช้ปัญญาพัฒนาตนเอง ให้มีความสุข
......การอ่านบทความ ก็เช่นเดียวกัน ต้องใช้ปัญญาในการอ่าน และพิจารณา
----------------------------------------------------
......สรรพสิ่งในโลกนี้ ทั้งคุณและโทษ มันขึ้นอยู่กับปัญญาของเราว่า
จะเลือกสิ่งที่มีคุณ หรือมีโทษมาใส่ตัว
......คุณจะคิดอย่างไรกับบทความนี้ มันเป็นเรื่องของคุณ แต่ควรอ่านให้จบ แล้วนำสิ่งดีๆ ในบทความ มาพัฒนาชีวิตของเราให้ดีขึ้น
----------------------------------------------------
......กรุณาใช้ใจอ่านอย่างพิจารณา อ่านแล้วทำความเข้าใจ ธรรมมะทุกตัวอักษรสามารถเปลี่ยนชีวิตท่านได้
......อย่าเพิ่งสงสัยก่อนจะอ่าน อย่าเพิ่งมีคำถามว่าจริงหรือ อ่านให้จบแล้วพิจารณาว่ามีประโยคใดบ้าง ที่นำไปใช้แล้วทำให้ชีวิตของท่านดีขึ้น
----------------------------------------------------
......จริงหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ต้องพิสูจน์ ประเด็นสำคัญคือเนื้อหาสาระของธรรมะ
......มีประโยคใดบ้าง ที่นำไปใช้แล้วทำให้ชีวิตของท่านดีขึ้น คุณจะได้พบกับ องค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าเช่นกัน
----------------------------------------------------
......ดั่งที่พุทธองค์ตรัสไว้ว่า
-------ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต--------
-------ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม--------

ศรัทธา

ศรัทธา