บทสวดพระมหาจักรพรรดิ์

บทสวดพระมหาจักรพรรดิ์
Glitter Photos

วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลเร็ว



การปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว ....
-----------------------------------------------------------------
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
-----------------------------------------------------------------
....เรามาสรุปเรื่องมหาสติปัฏฐานสูตรที่ศึกษามาแล้ว ว่าการปฏิบัติแบบไหนมันถึงจะได้มรรคผลโดยเร็ว เร็วหรือไม่เร็วก็ชื่อว่าเข้าถึงมรรคผล เมื่อก่อนนี้เราก็ว่ากันมาตั้งแต่อานาปานุสสติกรรมฐาน นั่นเป็นการศึกษาแต่ว่าจะปฏิบัติกันจริงๆ ละก้อท่านจะต้องขึ้นโพชฌงค์ ๗ ก่อนฉันไม่เหมือนชาวบ้านเขาแล้วถ้าเราจะเอามรรคผลกันจริงๆก็ต้องใช้โพชฌงค์ ๗ ก่อนอันดับแรกเพราะกำลังใจของเราต้องเข้าถึงโพชฌงค์เราต้องมีโพชฌงค์ ๗ มาเป็นกำลังใจอันดับแรกก่อนคือ
-----------------------------------------------------------------
  • ๑. ต้องเป็นคนมีสติ
-----------------------------------------------------------------
  • ๒. ธัมมวิจยะ ธัมมวิจยะนี่ใคร่ครวญธรรมะที่เราพึงปฏิบัติ และข้อวัตรปฏิบัติ
-----------------------------------------------------------------
  • ๓. วิริยะ มีความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค
-----------------------------------------------------------------
  • ๔. มีปีติ สร้างปีติ ความเอิบอิ่มใจให้ปรากฏกับใจ นี่หมายความว่า การปฏิบัติแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บอกว่าถึงพระนิพพานแน่ อย่างเลวที่สุดเราก็ไปพักแค่สวรรค์ดีขึ้นไปหน่อยไปพักแค่พรหม ดีที่สุดเราถึงพระนิพพาน เรารู้ความจริงแบบนี้ปีติคือความอิ่มใจมันก็เกิดก็คิดว่าเรานี่ยังไงๆก็ไม่ตกนรกแน่ความภาคภูมิใจที่เกิดอย่างนี้เราเรียกว่าปีติ
-----------------------------------------------------------------
  • ๕. ทีนี้ปัสสัทธิ แปลว่าความสงบ สงบของปัสสัทธิ มีอยู่ ๒ จุดคือสงบจากนิวรณ์และสงบจากกิเลส ให้มีอารมณ์นิ่ง มีอารมณ์สงบไม่ยอมให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจหรือไม่ยอมให้กิเลสเข้ามารบกวนใจแล้วก็
-----------------------------------------------------------------
  • ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่น
-----------------------------------------------------------------
  • ๗. อุเบกขา วางเฉย หมายความว่า ทรงอารมณ์เดียวเข้าไว้ ไม่ยอมรับทราบอารมณ์อื่นที่เข้ามารบกวนใจ
-----------------------------------------------------------------
....นี่สิ่งทั้ง ๗ ประการนี้เรียกว่า โพชฌงค์ คือว่าองค์เป็นเครื่องตรัสรู้จะต้องมีประจำใจอยู่ก่อนสอนแปลกเสียแล้วก็ต้องสรุปซีนะไม่ขึ้นตอนต้นเพราะว่าการขึ้นตอนต้นท่านถือตามหลักตามเกณฑ์ว่าควรปฏิบัตินี่เมื่อเรามีโพชฌงค์ ๗ ประจำใจโพชฌงค์ ๗ นี่เป็นอารมณ์ประจำใจคือเราคิดไว้เสมอว่า
-----------------------------------------------------------------
  • ๑. เราจะมีสติรู้อยู่ ในที่นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน
-----------------------------------------------------------------
  • ๒. เราต้องใช้ปัญญา ธรรมะที่พึงจะปฏิบัติ ว่าที่เขาสอนเรานี่ หรือว่าตำราที่กล่าวมานี่ มันตรงตามความเป็นจริงหรือยัง
-----------------------------------------------------------------
  • ๓. มีความเพียรคือวิริยะถ้าขาดความเพียรเสียอย่างเดียวขี้เกียจมันก็ไม่ได้อะไร
-----------------------------------------------------------------
  • ๔. ปีติ ความอิ่มใจ เต็มใจในการที่จะปฏิบัติ หวังในผลที่จะพึงได้
-----------------------------------------------------------------
  • ๕. ปัสสัทธิ รักษาอารมณ์ให้สงบอยู่เสมอ
-----------------------------------------------------------------
  • ๖. สมาธิ มีอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา
-----------------------------------------------------------------
  • ๗. อุเบกขา กันอารมณ์อื่นไม่ให้เข้ามายุ่ง อุเบกขานี่แปลว่า ความวางเฉย อารมณ์อื่นนอกจากที่เราจะต้องการมันเข้ามายุ่ง เราขับมันไปเลย
-----------------------------------------------------------------
  • สาธุ สาธุ สาธุ..น้อมนำจิตสู่แสงธรรมในธรรมะ
  • ขอให้ทุกท่านมีความสุข อย่าใด้มีความทุกข์ทั้งปวง!!!
  • ขอทุกท่านจงเจริญในกุศลธรรมทุกประการ และมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
  • ขอขอบคุณเจ้าของภาพ และ ข้อความ ธรรมะเพื่อเป็นธรรมะทาน
  • "ธรรมทาน คือ ทานเพื่อส่งเสริม การบรรลุธรรม"
  • สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ "การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ศรัทธา

ศรัทธา